การดำเนินคดีปกครอง

การดำเนินคดีปกครอง

การดำเนินกระบวนพิจารณา เป็นหน้าที่ของ “คู่กรณี” ต้องดำเนินการทั้งปวงด้วยตนเอง / มอบอำนาจให้ทนายความ / บุคคลอื่น ซึ่งมีคุณสมบัติตามระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดกำหนด

องค์คณะพิจารณาพิพากษา
– ศาลปกครองสูงสุดต้องมีตุลาการในศาลปกครองสูงสุดอย่างน้อย 5 คน
– ศาลปกครองชั้นต้นต้องมีตุลาการในศาลปกครองสูงสุดอย่างน้อย 3 คน

การพิจารณาคดี
1. จัดให้มีการนั่งพิจารณาคดีอย่างน้อย 1 ครั้ง เพื่อให้คู่กรณีมีโอกาสแถลงด้วยวาจาต่อหน้าองค์คณะพิจารณาพิพากษา
2. ก่อนการนั่งพิจารณาคดีครั้งแรก ให้ส่งสรุปข้อเท็จจริงของตุลาการเจ้าของสำนวนให้คู่กรณีทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน และคู่กรณีมีสิทธิยื่นคำแถลง+นำพยานหลักฐานมาแสดงหักล้างในวันพิจารณาพิพากษา
3. การนั่งพิจารณาให้กระทำโดยเปิดเผย เว้นแต่เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือเพื่อคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ จะมีคำสั่งห้ามประชาชนไม่ให้เข้าฟังการพิจารณา / โฆษณาข้อเท็จจริงต่างๆในคดีได้

ข้อห้ามในการฟ้องคดีต่อศาลปกครอง
มี 4 กรณี ศาลปกครองจะไม่รับฟ้องไว้พิจารณา
1. ฟ้องซ้ำ
2. ฟ้องซ้อน
3. ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
4. การห้ามฟ้องเจ้าหน้าที่ทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ ตามมาตรา 5 แห่งความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539