การใช้อำนาจของนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี เป็นคดีปกครองหรือไม่

เนื่องจากคณะรัฐมนตรีซึ่งประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีกับรัฐมนตรี ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางบริหารทั้งตามรัฐธรรมนูญและตาม

กฎหมายอื่น เพราะฉะนั้นการกระทำบางเรื่องอาจใช้อำนาจทางบริหารตามรัฐธรรมนูญ และการกระทำบางเรื่องอาจใช้อำนาจทางบริหารตาม

กฎหมายอื่น

 

กรณีนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี ใช้อำนาจทางบริหารตามรัฐธรรมนูญ การกระทำนั้นไม่ใช่การใช้อำนาจทางปกครอง การกระ

ทำในส่วนนี้จึงมิได้กระทำในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามบทนิยามคําว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐใน พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ มาตรา 3 ดังนั้นคดี

พิพาทที่เกิดจากการที่นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี ใช้อำนาจทางบริหารตามรัฐธรรมนูญ จึงไม่ใช่คดีปกครองและไม่อยู่ในอำนาจ

พิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง

 

แต่ถ้านายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรี ใช้อำนาจทางบริหารตามกฎหมายอื่นนอกจากรัฐธรรมนูญ มากระทำการ การกระทำส่วนนี้

ย่อมเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามบทนิยามคำว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐ ใน พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ มาตรา 3 ดังนั้น คดีพิพาทที่เกิดขึ้นจากการที่นายก

รัฐมนตรี รัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรี ใช้อำนาจทางบริหารตามกฎหมายอื่น ย่อมเป็นการใช้อำนาจทางปกครอง จึงอาจเป็นคดีปกครองและอาจอยู่

ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองได้

 

ตัวอย่าง

 

❎ นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งรัฐมนตรีหรือให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง เป็นกรณีที่นายกรัฐมนตรีใช้อำนาจทางบริหารตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญมา

กระทำการ จึงไม่ใช่การใช้อำนาจทางปกครอง นายกรัฐมนตรีจึงไม่ได้กระทำการในส่วนนี้ในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามบทนิยามคําว่า เจ้า

หน้าที่ของรัฐใน พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ มาตรา 3 ดังนั้นคดีพิพาทที่เกิดจากการที่นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี ใช้อำนาจทาง

บริหารตามรัฐธรรมนูญ จึงไม่ใช่คดีปกครองและไม่อยู่ในอำนำจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง

 

✅ นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีใช้อำนาจตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ออกคําสั่งให้บุคคลซึ่ง

ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงมหาดไทยไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีอยู่ใน สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นกรณีที่นายกรัฐมนตรีใช้อำนาจ

ทางบริหารตามกฎหมายอื่น คือ พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ไม่ใช่อำนาจทางบริหารตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ ดังนั้น

นายกรัฐมนตรีกระทำการในเรื่องนี้ในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามบทนิยามเจ้าหน้าที่ของรัฐใน พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯมาตรา 3 และคดี

พิพาทที่เกิดขึ้นจากคําสั่งของนายกรัฐมนตรีในเรื่องนี้ จึงเป็นคดีปกครองที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง